ไคร้ ๒

Glochidion kerrii Craib

ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ตามกิ่งมีขนกำมะหยี่ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ดอกแยกเพศร่วมตัน ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ สีเหลืองอ่อน ขอบกลีบสีเขียวอ่อน ไม่มีกลีบดอก ผลแบบผลแห้งแตก รูปกลมแบน เป็นพูสีเขียวอ่อนเปลี่ยนเป็นมีขาวแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีเลือด นกปนสีนํ้าตาล เมล็ดรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว สีเหลือง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง

ไคร้ชนิดนี้เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง ๗ ม. กิ่งสีเขียวอ่อน มีขนกำมะหยี่ เปลือกนอกบางและเรียบสีเทา แตกเป็นแผ่นบาง

 ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง ๑.๔-๔.๕ ซม. ยาว ๒.๒-๙ ซม. ปลายเรียวแหลมหรือแหลมเป็นติ่งหนามโคนมนกลมหรือสอบแคบ เบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษหรือกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวถึงเขียวเข้ม มีขนยาวประปรายอยู่บนเส้นใบ ด้านล่างสีเขียวอ่อน มีขนกำมะหยี่ เส้นกลางใบและเส้นใบนูนทางด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ ๗-๙ เส้น เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได ก้านใบยาว ๑-๒ มม. หูใบรูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง ๐.๒-๐.๖ มม. ยาว ๑.๘-๓.๓ มม. ร่วงง่าย

 ดอกแยกเพศร่วมต้น ออกเป็นกระจุกตามซอกใบแต่ละกระจุกมีดอกเพศผู้ ๑-๕ ดอก ดอกเพศเมียมี ๑-๓ ดอก บานค่อนข้างพร้อมกัน สมมาตรตามรัศมีไม่มีกลีบดอกและจานฐานดอก ดอกเพศผู้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๔.๕-๕.๕ มม. ล้านดอกยาว ๐.๗-๑.๕ ซม. มีขนยาวประปราย สีเขียวจาง กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อนขอบ สีเขียวอ่อน มี ๖ กลีบ รูปรี แข็ง เรียงซ้อนเหลื่อมกันเป็น ๒ วง กลีบกว้างประมาณ ๑ มม. ยาว ๓-๔ มม. กลีบวงนอกยาวกว่าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ ๓ เกสร ยาว ๑-๒ มม. ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกัน อับเรณูสีเหลือง ยาว ๐.๘-๑.๕ มม. ส่วนแกนอับเรณูยื่นเป็นซี่ฟันแหลม ยาวประมาณ ๐.๕ มม. ดอกเพศเมียมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒.๕ มม. ก้านดอกเมื่อเป็นผลยาว ๐.๓-๑.๒ ซม. สีเขียวอ่อนเล็กเรียวคล้ายกับก้านดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงมี ๒ กลีบ รูปไข่ กว้าง ๐.๓-๑ มม. ยาว ๐.๘-๑.๒ มม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ค่อนข้างกลม กว้างประมาณ ๒ มม. ยาวประมาณ ๒.๕ มม. มี ๓-๔ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียเล็กเรียวยาว ๒-๓ มม. ปลายสุดจักเป็นซี่ฟัน ยาวประมาณ ๑ มม. สีเขียวอ่อน

 ผลแบบผลแห้งแตก รูปกลมแบน เป็นพู รอยเชื่อมเห็นไม่ชัด กว้าง ๗-๘ มม. ยาว ๓.๕-๔ มม. เมื่ออ่อนมีขนยาวประปราย ผนังบาง แกนกลางผลยาว ๑.๕-๒ มม. แต่จะเหลืออยู่เฉพาะที่ส่วนโคนเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลสีเขียวอ่อนเปลี่ยนเป็นสีขาวแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีเลือดนกปนสีนํ้าตาล เมล็ดรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว กว้าง ๒.๒-๓ มม. ยาวและหนาประมาณ ๓ มม. สีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง

 ไคร้ชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ พบทั่วไปเป็นไม้ชั้นรองในป่าผลัดใบ ป่าดิบ ป่ารุ่น และยังพบตามชายป่า ตามช้างทางริมน้ำ ที่สูงจากระดับนํ้าทะเล ๕๕๐-๑,๓๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่พม่า.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ไคร้ ๒
ชื่อวิทยาศาสตร์
Glochidion kerrii Craib
ชื่อสกุล
Glochidion
คำระบุชนิด
kerrii
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Craib, William Grant
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1882-1933)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต